บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หนังสือหลายเล่ม

ปัญหาอีกประการหนึ่งสำหรับการที่จะเรียงบรรณานุกรมด้วย Word ก็คือ การที่ผู้เขียนหนังสือคนเดียว แต่มีหนังสือบรรณานุกรมหลายเล่ม ดังภาพนี้

จะเห็นว่า เล่มแรกคนแต่งคือล้วน ส่วนเล่มที่สองคือ ขีดเส้น  ในกรณีที่คนอ่านเป็นคน เรารู้ว่าทั้ง 2 เล่มนี้ คนแต่งเป็นคนเดียวกัน แต่ Word ไม่รู้  ดังนั้น เมื่อเรียงด้วยโปรแกรม Word  หนังสือทั้ง 2 เล่มจะแยกออกจากกันไป

วิธีแก้ไขก็คือ ให้พิมพ์ชื่อคนแต่งลงไปก่อน ดังภาพนี้


เมื่อเราเรียงบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม Word ไปแล้ว จึงค่อยมาปรับแต่งภายหลัง โดยวิธีดังภาพนี้


คือ ให้ทำตัวอักษรที่เป็นชื่อให้เป็นสีขาว ต่อจากนั้นก็ขีดเส้นลงไปแทนชื่อ ก็เสร็จเรียบร้อยดังภาพด้านล่างนี้


อย่างไรก็ดี ผมเห็นว่า การพิมพ์บรรณานุกรมดังที่ได้แนะนำไปนั้น เป็นวิธีที่เก่าและไม่ค่อยสะดวกแล้ว  จึงขอแนะนำวิธีใหม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก็กำหนดให้ใช้วิธีการพิมพ์แบบนี้


'กล่าวคือ ชื่อคนแต่งไว้บรรทัดบน  ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ไว้บรรทัดต่อมา  ในกรณีที่ผู้แต่งคนเดียว แต่มีหนังสือหลายเล่มก็ไม่ต้องขีดเส้น  การพิมพ์ก็ดูสวยงามมากขึ้น

ภาพนี้ไม่คลิกเครื่องหมายพาย 

ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ การพิมพ์แบบใหม่นี้ ทำให้หน้าของบรรณานุกรมเพิ่มมากขึ้น ก็น่าจะทำให้กรรมการมีโอกาสให้ผ่านมากขึ้นไปด้วย...



เลขหน้าบรรณานุกรม

ข้อบกพร่องของบรรณานุกรมชุดนี้ ประการหนึ่งก็คือ “เลขหน้า” ของบรรณานุกรม ที่ว่าบกพร่องก็คือ Word เขียนโปรแกรมไว้แบบหนึ่ง แต่ท่านผู้อ่านไปใช้อีกวิธีหนึ่งซึ่งทำให้ยุ่งยาก  ดูภาพ


ในแถบสีเขียวนั้น แสดงให้เห็นว่า ท่านผู้อ่านใช้ “กล่องข้อความ” เพื่อนำมาเป็นเลขหน้า ผมขอแนะนำการใส่เลขหน้าที่ถูกต้องดังนี้


ภาพดังกล่าวนี้ ผมลบกล่องข้อความออกทั้งหมดแล้ว  จึงเหลือแต่รายชื่อบรรณานุกรมล้วนๆ  ขั้นตอนต่อไป ดูภาพด้านล่าง


ขอให้ดูในแถบสีเขียว คือ คลิกที่ “แทรก” แล้วก็คลิกหมายเลขหน้า ก็จะมีให้เลือกว่า จะใส่เลขหน้าที่ตำแหน่งไหน

ผู้อ่านเดิม ใส่เลขหน้าไว้ที่ด้านบน และตรงกลางหน้ากระดาษ เราก็เลือกตามนั้น ผลก็ได้ออกมาตามภาพด้านล่าง



หน้านี้ ผมได้ปรับหน้าบอกชื่อบรรณานุกรมไว้แล้ว คือ พิมพ์บรรทัดเดียว อย่างที่เสนอไว้ในบทความ “หน้าแรกบรรณานุกรม

ในบทความ “หน้าแรกบรรณานุกรม” มีหน้าเดียว  แต่บทความนี้มีหน้าต่อไปอีก จึงต้องคั่นหน้าด้วย “ตัวแบ่งหน้า

ตามภาพนั้น เลขหน้ายังอยู่ตำแหน่งที่สูงไป  ดูในแถบระบายสีเขียว จะเห็นว่า มีการตั้งค่าไว้ที่ .49 นิ้ว ตรงนี้ตรงแก้ให้เป็น 1 นิ้ว ดูภาพ


ในภาพด้านบน ผมได้แก้ให้ตำแหน่งที่ว่านั้น เป็น 1 นิ้ว และแก้ตัวอักษรให้ไป 14 พอยน์ คือ ถ้าใช้ตัวหนังสือของข้อความ 16 พอยน์ เลขหน้าต้องเล็กกว่าคือ 14 พอยน์

ต่อไปปัญหาใหญ่ก็คือ โดยปกติแล้ว ระเบียบการพิมพ์วิทยานิพนธ์จะกำหนดว่า “ไม่ให้แสดงเลขหน้า” ในหน้าแรก  วิธีการแก้ไขก็มีแบบชาวบ้านๆ กับแบบผู้มีฝีมือ

1) แบบชาวบ้านๆ ก็คือ ทำกล่องข้อความที่มีสีขาวล้วนๆ ไปปิดเลขหน้า
2) แบบผู้มีฝีมือก็ตามภาพนี้


  • คลิก “เค้าโครงหน้ากระดาษ
  • คลิก “ตั้งค่าหน้ากระดาษ”  หน้าต่างตั้งค่าหน้ากระดาษจะปรากฏขึ้นมา
  • คลิกให้มีเครื่องหมายถูกที่ “หน้าแรกต่างกัน”
  • ดูหน้ากระดาษในแถบสีปูนแห้ง  ต้องเป็นเลขหนึ่ง


ต่อไปคลิกตกลง เลขหน้าของหน้าแรกก็จะไม่ปรากฏให้เห็น  สำหรับหน้าอื่นๆ ก็จะมีเลขหน้าตามระเบียบการพิมพ์ทุกประการ



การบีบตัวอักษร

ในบทความ “ย่อหน้าของบรรณานุกรม” ผมได้อธิบายการทำย่อหน้าให้ถูกต้องตามระเบียบการพิมพ์ของวิทยานิพนธ์แล้ว

เมื่อตรวจสอบการตั้งค่าย่อหน้าก็พบว่า ถูกต้องดีแล้วตามภาพ



อย่างไรก็ดี ย่อหน้าที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ก็ยังดูไม่สวยงามนัก กล่าวคือ ในสายตาของบุคคลทั่วๆ ไป อาจจะดูแล้วถูกต้อง แต่ในสายตาของผม ซึ่ง “เล่น” กับโปรแกรมนี้มานาน ช่วยเพื่อนแก้ผลงานวิชาการมานาน

ผมเห็นว่า ยังไม่สมบูรณ์ดี ดังภาพนี้


ภาพดังกล่าวนั้น มีความเป็นมาอย่างนี้
  • ระบายดำให้คลุมย่อหน้า “มนทิรา ภักดีณรงค์” ทั้งหมด
  • คลิกเม้าส์ที่ “แบบอักษร” ก็จะมีหน้าต่าง “แบบอักษร” ปรากฏขึ้นมา
  • คลิกเม้าส์ที่แถบ “ขั้นสูง” ก็จะพบว่า ท่านผู้อ่าน “บีบ” ตัวอักษรเข้าด้วยกัน ด้วยขนาด 0.3 พอยน์


ดังนั้น ในการพิมพ์บรรณานุกรมนั้น ควรที่จะทำให้ข้อความทั้งหมดอยู่ในสภาพดั้งเดิมที่ยังไม่มีการบีบการขยายตัวอักษร

ผมจึงจะปรับบรรณานุกรมของทั้ง 3 เล่มให้อยู่ในสภาพเดิมๆ ก่อนดังภาพนี้


ผมได้ระบายดำคลุมบรรณานุกรมทั้ง 3 เล่ม แล้วทำก็ทำให้ระยะห่างของข้อความอยู่ในสภาพปกติ  เมื่อทำเสร็จแล้วก็จะได้ข้อความของบรรณานุกรมทั้ง 3 เล่ม ดังนี้


เล่มแรก ผมจะนำข้อความหลังเส้นสีเขียวมามาไว้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยจะให้อยู่ในย่อหน้าเดียวกันด้วย ไม่อย่างนั้น เวลาเรียงบรรณานุกรมด้วย Word ข้อความก็จะแยกออกจากันไป

เล่มที่สอง ผมจะนำข้อความหลังเส้นสีแดงมามาไว้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยจะให้อยู่ในย่อหน้าเดียวกันด้วย ตรงนี้ ถ้าบางคนต้องการเอา “เรื่อง” มาไว้บรรทัดล่างด้วยก็ทำได้

เล่มที่สาม ผมจะนำข้อความสีเหลืองทั้งหมดให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน

วิธีทำ
ของเล่มที่หนึ่งกับเล่มที่สอง ให้เอา Curser ไปอยู่ในตำแหน่งสีเขียวและสีแดง แล้วกดแป้น Shift ไว้ หลังจากนั้นจึงค่อยกดแป้น Enter

เล่มที่สามก็ระบายดำให้คลุมข้อความทั้งหมด แล้วก็ไปที่ย่อหน้าของแบบอักษร แถบขั้นสอง แล้วค่อยๆ บีบเข้าไปทีละพอยน์  ซึ่งพบว่าบีบเข้าไป 2 พอยน์ก็ใช้ได้แล้ว ดังภาพ


ผลงานก็ปรากฏออกมาดังนี้


เครื่องหมายลูกศรงอนั้น หมายถึงว่า มีการตั้งบรรทัดใหม่ แต่ยังอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเรียงบรรณานุกรมด้วย Word ข้อความจะอยู่ในที่เดียวกัน ไม่ใช่แยกกันไปคนละทางสองทาง

สำหรับเล่มที่สาม การพิมพ์ถูกแล้ว แต่ข้อความยังไม่ถูก และ “เก่าไป”  ควรหาวิทยานิพนธ์ที่ใหม่กว่านี้มาอ้างอิง

เล่มที่สามพิมพ์ผิดหลายแหล่ง ผมขอนำปกของวิทยานิพนธ์มาให้ดูดังนี้



เล่มที่สามนี้ พิมพ์แค่นี้ก็น่าจะพอแล้ว


อย่างไรก็ดี วิทยานิพนธ์เล่มนี้เก่าไปแล้ว ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิง เพราะ เก่าไปประมาณ 14-15 ปีแล้ว ....