บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อ่านตรงนี้ก่อน

เท่าที่ช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำผลงานวิชาการมาหลายสิบเรื่อง  สาเหตุที่ผู้ตรวจผลงานวิชาการตัดสินให้เพื่อนครู “ไม่ผ่าน” เหตุผลที่พบได้บ่อยๆ ก็คือ “บรรณานุกรม” ไม่ถูกต้องตามความคิดเห็นของกรรมการ เช่น

1) เก่าไป
2) น้อยไป
3) พิมพ์ผิดรูปแบบ และบรรณานุกรมไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน
4) ไม่เรียงตามตัวอักษร
5) บรรทัดที่ 2-3 ของบรรณานุกรมไม่ตรงกัน
ฯลฯ

นอกจากนั้น จากประสบการณ์การสอนวิชาภาษาไทย ๑ ซึ่งปัจจุบันจะเปลี่ยนเป็นวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ผมพบว่า นักศึกษามีปัญหากับการเขียนบรรณานุกรมในหลายรูปแบบ

ระเบียบการพิมพ์วิทยานิพนธ์ หรือระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จะยกตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมไว้ทำนองเดียวกัน เช่น

อธิบายถึงผู้แต่ง 1 คน  2 คน 3 คน และ มากกว่า 4 คนว่าควรจะเขียนอย่างไร  อธิบายว่า ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่งจะเขียนอย่างไร ไปทีละส่วนๆ เป็นต้น

เมื่อนักศึกษาต้องการจะเขียนบรรณานุกรมขึ้นมาจริงๆ  กลับเขียนไม่ถูกเพราะไม่เข้าใจ

นอกจากนั้นแล้ว ในยุคนี้ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างทำด้วยโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษารวมถึงครูบาอาจารย์ที่ต้องการทำผลงานวิชาการได้เป็นอย่างดี

กลับเกิดปัญหาที่แปลกประหลาดคือ พวกเขาเหล่านั้นพิมพ์บรรณานุกรมไม่ถูกต้องตามหลักการพิมพ์

ปัญหาที่พบมากอีกประการหนึ่งก็คือ การเรียงลำดับตัวอักษรตัวแรกของบรรณานุกรมไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

ที่พบเห็นส่วนใหญ่  ผู้ทำงานวิชาการมักจะเรียงด้วยมือของตนเอง คือ ใช้วิธีการ “ตัด” จากที่หนึ่งแล้วไป “วาง” ในอีกที่หนึ่ง จึงทำให้ลำดับของการเรียงบรรณานุกรมไม่ถูกต้อง

ในบทความชุดนี้ ผมจะแนะนำการเขียนบรรณานุกรมที่ถูกต้องอย่างละเอียดพอที่จะนำไปใช้งานได้  และจะแนะนำการพิมพ์บรรณานุกรมโดยโปรแกรม 2 โปรแกรมคือ Microsoft Word และ Microsoft Publisher

โปรดติดตามต่อไป...............

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น