บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การตั้งชื่อลักษณะ

ในบทความ “การคัดลอกลักษณะ” ผมได้แนะนำการคัดลอกลักษณะของหนังสือเล่มที่เราทำลักษณะบรรณานุกรมถูกต้องไปยังหนังสือเล่มอื่นๆ

วิธีการคัดลอกลักษณะนั้น เหมาะสำหรับการทำบรรณานุกรมที่มีจำนวนหนังสือไม่มากนัก

ถ้าเรามีหนังสือที่จะต้องทำลักษณะ/style เป็นจำนวนมาก เราควรตั้งชื่อให้กับลักษณะ/style ดังกล่าว

สมมุติว่า เราจะตั้งชื่อว่า “biblio” ชื่อของลักษณะ/style ตั้งเป็นภาษาไทยได้นะครับ แต่ผมถนัดภาษาอังกฤษมากกว่า

ขอแสดงรูปก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไปก่อน ดังนี้


ขอให้สังเกตที่วงกลมสีเขียว หลังคำว่า “ลักษณะ” เราจะคลิกเม้าส์ที่สี่เหลี่ยมที่มีลูกศรชี้ลง

เมื่อคลิกเม้าส์แล้ว ก็จะมีหน้าต่างลอยขึ้นมา ดังนี้ 



ขอให้สังเกตที่สี่เหลี่ยมสีแดงก่อน เราจะคลิกเม้าส์เครื่องหมายตัวอักษร AA นั้น 

ก่อนอื่นขออธิบาย สี่เหลี่ยมสีฟ้าที่มีตัวหนังสือคำว่า “ปกติ” เสียก่อน เพราะ ต้องใช้ความเข้าใจตรงนี้ ต่อไปในกาลข้างหน้า

คำว่า “ปกติ” คือชื่อของลักษณะที่โปรแกรม Word ตั้งมาตั้งแต่แรก  ที่เราจะตั้งชื่อลักษณะของเราต่อไปคือ “biblio” ก็เป็นการตั้งชื่อในลักษณะเดียวกัน

ลักษณะที่เราตั้งแล้วนั้น สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ทุกอย่าง แต่ชื่อก็ยังคงใช้ชื่อเดิมอยู่ ถ้าเราไม่เปลี่ยนชื่อให้กับลักษณะเหล่านั้น

ต่อไปให้คลิกเม้าส์ที่ตัวอักษร AA ในสี่เหลี่ยมสีแดง ก็จะมีหน้าต่างใหม่ลอยขึ้นมาอีก ดังนี้


คำว่า “ลักษณะ1” ในสี่เหลี่ยมสีเขียว ให้พิมพ์เป็น “biblio” เสร็จแล้วคลิกเม้าส์ที่ตกลงในสี่เหลี่ยมสีแดง ก็เป็นอันว่า เราตั้งชื่อลักษณะ/style ให้กับย่อหน้าที่เป็นบรรณานุกรมเสร็จสิ้นแล้ว

เมื่อคลิกเม้าส์ที่ตกลงแล้ว หน้าจอบนก็จะหายไป กลับไปที่หน้าจอนี้


จะเห็นว่า ชื่อลักษณะ/style ของย่อหน้าบรรณานุกรมคือ biblio มาอยู่ ณ ที่นี้แล้ว  ให้สังเกตชื่อย่อหน้าที่ว่า body01 ก็เป็นชื่อย่อหน้าที่ผมตั้งขึ้น เพราะชื่อย่อหน้าของ Word เอง เปลี่ยนเป็นภาษาไทยหมดแล้ว

ขั้นตอนต่อไปก็คือ ใช้เม้าส์ระบายดำให้คลุมรายชื่อหนังสือทั้งหมด แล้วคลิกเม้าส์ที่สี่เหลี่ยมมีลูกศรลงตรงท้ายคำว่า “ลักษณะ”

หน้าต่างยาวๆ อันคุ้นตาก็ลอยมาอีกแล้ว  ให้คลิกที่ “biblio” ย่อหน้าหนังสือทั้งหมดก็จะมีรูปแบบเดียวกันตามระเบียบการพิมพ์ทุกประการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น