บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การบีบตัวอักษร

ในบทความ “ย่อหน้าของบรรณานุกรม” ผมได้อธิบายการทำย่อหน้าให้ถูกต้องตามระเบียบการพิมพ์ของวิทยานิพนธ์แล้ว

เมื่อตรวจสอบการตั้งค่าย่อหน้าก็พบว่า ถูกต้องดีแล้วตามภาพ



อย่างไรก็ดี ย่อหน้าที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ก็ยังดูไม่สวยงามนัก กล่าวคือ ในสายตาของบุคคลทั่วๆ ไป อาจจะดูแล้วถูกต้อง แต่ในสายตาของผม ซึ่ง “เล่น” กับโปรแกรมนี้มานาน ช่วยเพื่อนแก้ผลงานวิชาการมานาน

ผมเห็นว่า ยังไม่สมบูรณ์ดี ดังภาพนี้


ภาพดังกล่าวนั้น มีความเป็นมาอย่างนี้
  • ระบายดำให้คลุมย่อหน้า “มนทิรา ภักดีณรงค์” ทั้งหมด
  • คลิกเม้าส์ที่ “แบบอักษร” ก็จะมีหน้าต่าง “แบบอักษร” ปรากฏขึ้นมา
  • คลิกเม้าส์ที่แถบ “ขั้นสูง” ก็จะพบว่า ท่านผู้อ่าน “บีบ” ตัวอักษรเข้าด้วยกัน ด้วยขนาด 0.3 พอยน์


ดังนั้น ในการพิมพ์บรรณานุกรมนั้น ควรที่จะทำให้ข้อความทั้งหมดอยู่ในสภาพดั้งเดิมที่ยังไม่มีการบีบการขยายตัวอักษร

ผมจึงจะปรับบรรณานุกรมของทั้ง 3 เล่มให้อยู่ในสภาพเดิมๆ ก่อนดังภาพนี้


ผมได้ระบายดำคลุมบรรณานุกรมทั้ง 3 เล่ม แล้วทำก็ทำให้ระยะห่างของข้อความอยู่ในสภาพปกติ  เมื่อทำเสร็จแล้วก็จะได้ข้อความของบรรณานุกรมทั้ง 3 เล่ม ดังนี้


เล่มแรก ผมจะนำข้อความหลังเส้นสีเขียวมามาไว้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยจะให้อยู่ในย่อหน้าเดียวกันด้วย ไม่อย่างนั้น เวลาเรียงบรรณานุกรมด้วย Word ข้อความก็จะแยกออกจากันไป

เล่มที่สอง ผมจะนำข้อความหลังเส้นสีแดงมามาไว้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยจะให้อยู่ในย่อหน้าเดียวกันด้วย ตรงนี้ ถ้าบางคนต้องการเอา “เรื่อง” มาไว้บรรทัดล่างด้วยก็ทำได้

เล่มที่สาม ผมจะนำข้อความสีเหลืองทั้งหมดให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน

วิธีทำ
ของเล่มที่หนึ่งกับเล่มที่สอง ให้เอา Curser ไปอยู่ในตำแหน่งสีเขียวและสีแดง แล้วกดแป้น Shift ไว้ หลังจากนั้นจึงค่อยกดแป้น Enter

เล่มที่สามก็ระบายดำให้คลุมข้อความทั้งหมด แล้วก็ไปที่ย่อหน้าของแบบอักษร แถบขั้นสอง แล้วค่อยๆ บีบเข้าไปทีละพอยน์  ซึ่งพบว่าบีบเข้าไป 2 พอยน์ก็ใช้ได้แล้ว ดังภาพ


ผลงานก็ปรากฏออกมาดังนี้


เครื่องหมายลูกศรงอนั้น หมายถึงว่า มีการตั้งบรรทัดใหม่ แต่ยังอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเรียงบรรณานุกรมด้วย Word ข้อความจะอยู่ในที่เดียวกัน ไม่ใช่แยกกันไปคนละทางสองทาง

สำหรับเล่มที่สาม การพิมพ์ถูกแล้ว แต่ข้อความยังไม่ถูก และ “เก่าไป”  ควรหาวิทยานิพนธ์ที่ใหม่กว่านี้มาอ้างอิง

เล่มที่สามพิมพ์ผิดหลายแหล่ง ผมขอนำปกของวิทยานิพนธ์มาให้ดูดังนี้



เล่มที่สามนี้ พิมพ์แค่นี้ก็น่าจะพอแล้ว


อย่างไรก็ดี วิทยานิพนธ์เล่มนี้เก่าไปแล้ว ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิง เพราะ เก่าไปประมาณ 14-15 ปีแล้ว ....



3 ความคิดเห็น:

  1. อ.วิทยานิพนธ์ที่จะนำมาอ้างควรไม่เกินกี่ปีคะ
    และถ้าเราอ้างข้อความจากเว็บได้ไหมคะ

    ตอบลบ
  2. เรียน คุณยมฑูตหน้าตาย


    1) โดยปกติทั่วไป เขาว่าไม่ควรเกิน 5 ปี แต่ถ้าวิทยานิพนธ์เล่มนั้น เป็นงานชิ้นแรกก็ควรนำมาอ้างกันได้ เช่น งานเกี่ยวกับต้นไม้จริยธรรมของอาจารย์ดวงเดือน พันธุมนาวิน ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ปี 2520 ก็ยังเอามาอ้างกัน

    ไม่ได้เป็นกฎตายตัว..

    2) ข้อความจากเว็บอ้างได้ แต่ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดเห็น ในด้านงานวิชาการ "อย่าทำ" เป็นอันขาด นี่หมายถึงเว็บของไทยนะ เพราะ ส่วนใหญ่ลอกกันไป ลอกกันมา

    ถ้าเป็นเว็บของมหาวิทยาลัย (ในบางเรื่อง) อาจจะนำมาอ้างกันได้

    แต่ถ้ามีหนังสือ อ้างหนังสือดีกว่า


    ดร. มนัส

    ตอบลบ